วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข






              การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ  แต่จะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในสาธารณสุขด้านเดียว  เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ 
              เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ การพัฒนา แนวทางการพัฒนา ระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในงานการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นสถานบริการที่มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ เสมอภาพ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ มีมาตรฐานด้านบริการ และเกิดการพัฒนาคุณภาพบริการอย่าง ต่อเนื่อง เป็นสถานบริการที่ประชาชนในพื้นที่ศรัทธา เชื่อมั่นและเลือกใช้บริการเป็นอันดับแรกผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ และมีผู้ให้บริการ ที่มีความพึงพอใจต่อการบริการ มีมาตรฐานการรักษาและสอดคล้องกับปัญหาท้องถิ่นเป็น NETWORK HOSPITAL ร่วมกับกับสถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ ในด้านบริการ วิจัย และ ผลิตบุคลากร
ด้านบริการ

             - เพิ่มความเร็วในการบริการ โดยลดขั้นตอนในการรับบริการของผู้ป่วย เป็น ร.พ.ที่ประชาชนนิยม มีความพอใจเมื่อใช้บริการ
             - มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ รองรับสิทธิการรับรู้ของผู้ป่วย และมีงบรายได้
น้อยเพียงพอ
             - สามารถนำข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข และระบาดวิทยา เพื่อนำไปสู่การวางแผน
ควบคุม ประเมินผล การดำเนินงานด้านสาธารณสุข
             - พัฒนาเชิงรุกในโรคที่พบมากในพื้นที่ และ โรคทาง CD และ NCD ใช้ระบบ GIS ในการติดตามผู้ป่วยในพื้นที่เพื่อการ ป้องกันและควบคุมโรคระบาด และการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน
           ระบบงานสารสนเทศของโรงพยาบาลฯที่ผ่านมา
ระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศถูกประยุกต์มาใช้กับงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทยมาตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ. 2526 โดยใช้เครื่อง Microcomputerในลักษณะ Standalone ในระยะแรก (ก่อนหน้านั้น โรงพยาบาลเอกชน มีการใช้ Minicomputer และ บางส่วนของโรงเรียนแพทย์บางแห่งใช้ Mainframe Computer) ดังจะเห็นได้จากผลงาน(บางส่วน ถึงแม้จะไม่ใช่งานทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยตรง)ที่เป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้น เช่น Word ราชวิถี / Word รามา เป็นต้น
ลักษณะงานที่ใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ในระยะแรกนั้น มักจะเป็น “งานเฉพาะหน้า”อย่างเช่น งานรายงานเอกสาร งานคำนวณเล็กๆและสถิติ เป็นต้น

          การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้ 
            -   ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล  ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชทะเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน  
            -   ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดท้องถิ่น เช่น เมื่อผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้ แพทย์และสาธารณสุขอำเภอสามารถตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากท้องถิ่นใด ตำบลอะไร ในเขตนั้นมีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็กเท่าไหร่ เพื่อจะได้จัดหาวัคซีนป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดได้ทันที 
            - ระบบผู้เชี่ยวชาญ  เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบ Mycin ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งได้เริ่มมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ มากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น