วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

อาหารปนเปื้อน


                       
                        
           

                         
 มีอาหารหลายชนิดที่เรากินโดยไม่รู้ว่ามีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงได้ สารเคมีสำคัญๆ ที่มักจะปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด ที่มักตรวจพบในอาหาร ได้แก่
  1. สารบอแรกซ์ (Borax)  มีลักษณะเป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม
    • สารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น
      1. ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน
      2. เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง
      3. เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น
    • แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย
    • อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
    • พิษของสารบอแรกซ์เกิดได้สองกรณี คือ
      1. แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ
      2. แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ
    • คำแนะนำ
      1. ผู้บริโภคไม่ซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ
      2. หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดย ไม่ซื้อหมูบดสำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง
      3. ไม่กินอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ
    • โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26(1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบบอแรกซ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
      1. สับเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ
      2. เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์จนแฉะกวนให้เข้ากัน
      3. จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น
      4. นำกระดาษขมิ้นไปตากแแดนาน 10 นาที
      5. ดูสี ถ้ากระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าตัวอย่างมีบอแรกซ์ปนอยู
  2. สารกันรา  หรือสารกันบูด เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ซึ่งผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น
    • อาหารที่มักพบว่ามีสารกันรา ได้แก่ น้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น
    • พิษของสารกันรา เมื่อกินเข้าไปจะทำลายเซลล์ในร่างกายให้ตาย หากกินเข้าไปมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้   ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือในบางรายที่กินเข้าไปไม่มากแต่แพ้ จะทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ มีไข้
    • หลีกเลี่ยงพิษจากสารกันราได้โดย เลือกกินอาหารที่สดใหม่ ไม่กินอาหารหมักดอง หรือเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย.
    • การทดสอบเบื้องต้นสารกันรา โดยชุดตรวจกรมซาลิซิลิคในอาหาร
  3. สารฟอกขาว  หรือผงซักมุ้งหรือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium Hydrosulfite) เป็นสารเคมีที่ใช้ฟอกแห อวน แต่แม่ค้าบางรายนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร เพื่อให้อาหารมีสีขาว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    • อาหารที่มักพบว่ามีการใช้สารฟอกขาว ได้แก่ ถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน
    • อันตรายของสารฟอกขาวคือ เมื่อสัมผัสโดยตรงจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และถ้ากินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสอาหาร เช่น ปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร เกิดอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตลดลง และหากกินมากอาจเสียชีวิตได้
    • หลีกเลี่ยงสารฟอกขาวได้โดยการเลือกกินอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจนเกินไป
    • คำแนะนำ ผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกอาหารที่มีความสะอาด และมีสีใกล้ธรรมชาติ จะช่วยให้ปลอดภัยจากอันตรายของสารฟอกขาว
    • การทดสอบเบื้องต้นสารฟอกขาว โดยใช้ชุดทดสอบสารฟอกขาวของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
      1. นำถั่วงอกมาหั่นเป้นข้อเล็กๆ
      2. เติมน้ำ 10 ซีซี บดให้เข้ากัน
      3. หยดน้ำยา 3-4 หยด สังเกตดูสีน้ำยา
      4. การอ่านผล ถ้าน้ำยาเป็นสีเทา ดำ แสดงว่ามีสารไฮโดรซัลไฟต์
  4. สารฟอร์มาลิน(Formalin) หรือน้ำยาดองศพเป็นสารอันตรายที่แม่ค้าบางราย นำมาใช้ราดอาหารสด เพื่อให้ คงความสดอยู่ได้นาน ไม่บูดเน่าง่าย
    • อาหารที่มักตรวจพบว่ามีสารฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่ เช่น ผักสดต่างๆ อาหารทะเลสด และเนื้อสัตว์สด เป็นต้น
    • อันตรายของสารฟอร์มาลิน เมื่อกินเข้าไปจะเกิดเป็นพิษเฉียบพลัน ตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจตายได้หากได้รับในปริมาณมาก
    • การทดสอบเบื้องต้นโดยใช้
  5. ยาฆ่าแมลง   หรือ สารเคมีสำหรับกำจัดแมลงซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนทำให้อาจตกค้างมากับผัก หรือผลไม้สด ปลาแห้ง
    • อันตรายจากยาฆ่าแมลง เมื่อเรากินเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก และหมดสติ หายใจขัด และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุดคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เกิดสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้
    • การหลีกเลี่ยงจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับอาหารคือ เลือกกินผัก ผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เลือกผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง กินผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า ล้างและปอกเปลือก(ในชนิดที่ทำได้) ก่อนนำมาบริโภค และเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ผักอนามัย ผักกางมุ้ง เป็นต้น
    • การทดสอบเบื้องต้นยาฆ่าแมลง โดยชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  6. สารเร่งเนื้อแดง (ซาลบูตามอล)
    • ในท้องตลาดผู้บริโภคเคยเห็นหมูเนื้อแดงซึ่งมีแต่เนื้อล้วนๆ ไม่มีมันเลย ซึ่งมาจากความต้องการของผู้บริดภค ที่ต้องการเนื้อแดงล้วนๆไม่มีมันเลย ผู้เลี้ยงจึงให้หมูกินสารเคมี คือ ซาลบูตามอล
    • ซาลบูตามอล เป็นยาสำคัญที่ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด ช่วยในการขยายหลอดลม และมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ เมื่อมีการนำสารซาลบูตามอลไปใช้เร่งเนื้อแดงในหมู โดยให้หมูกินสารนี้ เมื่อตกค้างมาถึงผู้บริโภค อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หญิงมีครรภ์
    • คำแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยง ไม่กินเนื้อหมูที่มีสารดังกล่าว โดยเลือกหมูที่มีชั้นมันหนา และเลือกหมูที่อยู่ในลักษณะสีไม่แดงมาก


สารพิษปนเปื้อนในอาหารที่ควรทราบมีดังนี้
                1.ดินประสิว (โพแทกเซียมไนเตรต)มีสูตรเคมีKMO3 นิยมใส่ในอาหารประเภทเนื้อหมู  เนื้อปลา
เนื้อวัว    ทำเนื้อเปื่อย  สีสวย  รสดี  และเก็บไว้ได้นาน  ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดสารไนโตรซามีน(nitrosamine)ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง
                2.ปรอท  พิษของสารปรอทที่ไปสะสมในสมอง  ทำให้ประสาทหลอน  ความจำเสื่อม  เป็นอัมพาต
เด็กในครรภ์ประสาทจะถูกทำลาย  นิ้วมือหงิกงอ  ปัญญาอ่อน  และอาจตายได้  อาการเช่นนี้เรียกว่า
โรคมินามาตะ
                3.ตะกั่ว  พิษตะกั่วเกิดจากสีและไอเสียรถยนต์  จะทำลายเซลล์สมอง  ทำลายเม็ดเลือดแดง  ปวดศีรษะ และอาจตายได้
                4.โครเมียม  สารประกอบของโครเมียมใช้ทำสีย้อม  พิษของโคเมียมเป็นอันตรายต่อผิวหนังและปอด
                5.แคดเมียม  มีพิษต่อปอดและไต  ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต
                6.สารหนุ  ทำให้เกิดโรคไข้ดำ  มีอาการเจียน  ปวดท้องรุนแรง  เป็นตะคริว
                7.สารกันบูด  สารที่นิยมใช้เป็นสารกันบูด  ได้แก่  กรดซาลิวาลิก  กรอดบอริก  และดวเดียมเบนโซเอต
                8.น้ำประสานทองหรือบอแร็กซ์  มีชื่อทางเคมีว่า  “โซเดียมบอเรต (sodium borate)”  ชาวบ้าน  เรียกว่า  “ผงกรอบ”  หรือคนจีนเรียกว่า  “เพ่งแช”  ใช้ใส่ลูกชิ้น  แป้งกรอบ  ทำให้ไตอักเสบได้
                9.ผงเนื้อนุ่ม  คือบอแรกซ์ผสมโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต  สารนี้ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้  ทำให้เกิดอาการคล้ายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  มีพิษต่อไตและเซลล์ต่างๆของร่างกาย
                10.น้ำตาลเทียม  คือสารให้ความหวานแต่ไม่ใช่น้ำตาล  เช่น
-       ซอร์บิทอล  หวานกว่าน้ำตาลทราย 2 ใน 3 เท่า
-       ไซคลาเมต  หวานกว่าน้ำตาลทราย 30 เท่า
-       แอสพาร์เทม  หวานกว่าน้ำตาลทราย 180 เท่า  ใช้แทนน้ำตาลในเครื่องดื่ม  ลูกกวาด  หมากฝรั่ง
-       ขัณฑสกรหรือแช็กคาริน  หวานกว่าน้ำตาลทราย 550 เท่า  เป็นน้ำตาลเทียม  ถ้ารับประทานมากจะเกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ชัก  ใช้แทนน้ำตาลทรายสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและผู้ที่อ้วนมาก



อาหารบางชนิดเป็นพิษต่อผู้บริโภค  ซึ่งอาการที่เกิดจากสารพิษแต่ละชนิดจำแนกได้ 2 ลักษณะ  คือ
1.  อาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน  คือการเกิดอาการเป็นพิษภายหลังจากรับประทานอาหารนั้นๆเข้าไปไม่
นานนักภายในเวลา 2-6 ชั่วโมง  ลักษณะอาการที่พบ  คือ  ท้องเสียรุนแรง  คลื่นไส้  หายใจไม่ออก  เป็นอัมพาตในเวลารวดเร็ว  อาจถึงตายได้

2.  อาการเป็นพิษแบบเรื้อรัง  คือการเกิดอาการเป็นพิษเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษปะปนอยู่ในปริมาณน้อยและมีการสะสมอย่างต่อเนื่องมากขึ้นทุกวันจนมีปริมาณสารพิษในร่างกายมากขึ้น  อาการจึงจะแสดงออกมาตามลักษณะอาการของพิษและชนิดของสาร


แนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนในอาหาร  มีดังนี้
1.  เลือกซื้ออาหารที่มั่นใจว่าไม่มีสารพิษเจือปน
2.  แช่ผักและผลไม้ในสารละลายน้ำส้มสายชูหรือสารละลายด่างทับทิมก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง
3.  เลือกรับประทานอาหารที่ใช้สีปรุงแต่งจากธรรมชาติ
4.  เลือกซื้อสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อ       รับรองความปลอดภัยของอาหารนั้นๆ
                                 







การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข






              การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ  แต่จะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในสาธารณสุขด้านเดียว  เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ 
              เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ การพัฒนา แนวทางการพัฒนา ระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในงานการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นสถานบริการที่มี คุณภาพ ประสิทธิภาพ เสมอภาพ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ มีมาตรฐานด้านบริการ และเกิดการพัฒนาคุณภาพบริการอย่าง ต่อเนื่อง เป็นสถานบริการที่ประชาชนในพื้นที่ศรัทธา เชื่อมั่นและเลือกใช้บริการเป็นอันดับแรกผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ และมีผู้ให้บริการ ที่มีความพึงพอใจต่อการบริการ มีมาตรฐานการรักษาและสอดคล้องกับปัญหาท้องถิ่นเป็น NETWORK HOSPITAL ร่วมกับกับสถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ ในด้านบริการ วิจัย และ ผลิตบุคลากร
ด้านบริการ

             - เพิ่มความเร็วในการบริการ โดยลดขั้นตอนในการรับบริการของผู้ป่วย เป็น ร.พ.ที่ประชาชนนิยม มีความพอใจเมื่อใช้บริการ
             - มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ รองรับสิทธิการรับรู้ของผู้ป่วย และมีงบรายได้
น้อยเพียงพอ
             - สามารถนำข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข และระบาดวิทยา เพื่อนำไปสู่การวางแผน
ควบคุม ประเมินผล การดำเนินงานด้านสาธารณสุข
             - พัฒนาเชิงรุกในโรคที่พบมากในพื้นที่ และ โรคทาง CD และ NCD ใช้ระบบ GIS ในการติดตามผู้ป่วยในพื้นที่เพื่อการ ป้องกันและควบคุมโรคระบาด และการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน
           ระบบงานสารสนเทศของโรงพยาบาลฯที่ผ่านมา
ระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศถูกประยุกต์มาใช้กับงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทยมาตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ. 2526 โดยใช้เครื่อง Microcomputerในลักษณะ Standalone ในระยะแรก (ก่อนหน้านั้น โรงพยาบาลเอกชน มีการใช้ Minicomputer และ บางส่วนของโรงเรียนแพทย์บางแห่งใช้ Mainframe Computer) ดังจะเห็นได้จากผลงาน(บางส่วน ถึงแม้จะไม่ใช่งานทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยตรง)ที่เป็นที่ยอมรับกันในสมัยนั้น เช่น Word ราชวิถี / Word รามา เป็นต้น
ลักษณะงานที่ใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์ในระยะแรกนั้น มักจะเป็น “งานเฉพาะหน้า”อย่างเช่น งานรายงานเอกสาร งานคำนวณเล็กๆและสถิติ เป็นต้น

          การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้ 
            -   ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล  ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชทะเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน  
            -   ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดท้องถิ่น เช่น เมื่อผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้ แพทย์และสาธารณสุขอำเภอสามารถตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากท้องถิ่นใด ตำบลอะไร ในเขตนั้นมีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็กเท่าไหร่ เพื่อจะได้จัดหาวัคซีนป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดได้ทันที 
            - ระบบผู้เชี่ยวชาญ  เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบ Mycin ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งได้เริ่มมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ มากขึ้น